เทคนิคการทำ SEO รูปภาพ

Standard

1. ภาพที่ถูกถ่ายใหม่ดีกว่าภาพที่เราซื้อจาก Stock Image

หากเราต้องการเพิ่มความน่าเชื่อถือจากผู้ที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเรา ภาพจริงๆ ของบริษัทน่าจะส่งผลต่อความไว้เนื้อเชื่อใจ มากกว่าภาพฝรั่งใส่สูทผูกเนคไท ที่เราซื้อมาอย่างแน่นอน ภาพที่ไม่เหมือนใคร ย่อมมีโอกาสถูกคลิกต่อมากกว่า ภาพโหลๆ ที่เราเห็นจนคุ้นตา

2. ควรตั้งชื่อรูปภาพให้สื่อความหมายที่ถูกต้อง

เนื่องจาก Google เขาตาบอดสี ไม่ได้มองเห็นภาพในแบบที่เรามองเห็น สิ่งที่ Google เห็นเป็นเพียงชื่อไฟล์ หรือ Code ต่าง ๆ ที่อยู่ด้านหลังของภาพ เราจึงจำเป็นต้องใส่ keyword เพื่อบอกให้ google รู้ว่าภาพนี้คือภาพอะไร และดึงมาแสดงผลเมื่อมีการค้นหาคำนั้นๆ

หลักการตั้งชื่อรูปให้ถูกต้อง มีดังนี้

ต้องตั้งชื่อภาพเป็นภาษาอังกฤษให้สื่อความหมาย
เราจะใส่คำอะไรไปก็ได้ แต่ต้องเป็นคำที่สื่อความหมายในภาษาอังกฤษ
ไม่ควรใช้ชื่อรูปภาพแบบนี้ DSC4536.jpg , image1.jpg
ห้ามตั้งชื่อภาพเป็นภาษาไทยเด็ดขาด (เฉพาะเว็บ WordPress นะ)
ปัญหาสำคัญที่จะเจอกับรูปภาพที่เราตั้งชื่อเป็นภาษาไทยคือ หากเราต้อง backup เว็บไซต์ ผ่านปลั๊กอิน ต่าง ๆ เช่น All-in-one-wp migration ตอนที่เรา Export เว็บพวกรูปภาพมันจะไม่ออกมาด้วย ทำให้เว็บเรารูปเพี้ยน หรือหายไปได้ครับ
ใส่ alt text เป็นคำ keyword และเก็บรายละเอียดๆ ในส่วน info ของรูปภาพด้วย

คำอธิบาย
Title > คือชื่อรูปที่เราตั้งไว้ที่คอมของเราก่อนอัพโหลดขึ้นมา
Caption >คือคำอธิบายใต้รูป ถ้าใส่ช่องนี้ จะแสดงผลที่หน้าเว็บของเราด้วยใต้รูปภาพนั้นๆ
Alt text > หน้าที่หลักของเขาคือจะแสดงข้อความ กรณีที่รูปภาพโหลดไม่ขึ้น เพื่อบอกว่ารูปนี้คืออะไรหน้าเว็บ ซึ่งจุดนี้สำคัญมาก เป็นคำที่ทำ google ใช้ดูว่ารูปภาพของเราคือรูปอะไรด้วย
Description > คือ คำอธิบายขนาดยาวของรูปภาพนั้นอีกที แต่คำตรงส่วนนี้จะไม่แสดงที่หน้าเว็บของเรา
ควรใส่ข้อมูลภาพให้มากที่สุด คือใส่ให้ครบทุกช่องนั้นเอง แต่ Alt text นี้ต้องใส่ทุกครั้ง พลาดไม่ได้เด็ดขาด bot google จะเข้ามาเก็บค่าส่วนนี้ก่อนเป็นอันดับแรก อาจจะเปรียบเปรยได้ว่า Alt text เหมือนหมัดน็อค ส่วน image info ช่องอื่นๆ เหมือนหมัดแย็บ นั้นเอง ใช้ทุกส่วนให้ได้ประโยชน์ที่สุด แล้ว Google จะเข้าใจเว็บของเรามากกว่าคู่แข่งได้

3. ควรใช้ไฟล์ภาพที่มีขนาดเล็ก

Google ให้ความสำคัญกับเว็บที่เป็น mobile friendly เป็นอย่างมาก คือต้องโหลดไว และแสดงบนมือถือได้ชัดเจน

mobile friendly

ดังนั้นรูปภาพที่เราอัพโหลดขึ้นเว็บ จะมีขนาดกว้างxยาว เท่าไหร่ก็ได้ แต่ขนาดของไฟล์ของรูปภาพต้องอย่าให้เกิน 200 kb ซึ่งเราควรบีบไฟล์ตั้งแต่ตอนการออกแบบรูปเลย

หลักการบีบไฟล์ให้เล็กมีดังนี้

หากเราใช้ photoshop ออกแบบรูป เราควรตั้งค่า resolution แค่ 72 ก็พอนะ

resolution image setup

ไฟล์ที่ใช้ถ้ารูปทั่วไปควรใช้ไฟล์ .jpg ก็พอครับ และถ้ารูปไหนต้องการพื้นหลังโปร่งใส่ก็ใช้ไฟล์ .png ครับ
การ save ภาพเพื่อให้รูปภาพมีขนาดไฟล์เล็กที่สุด ตรง Quality ของภาพเราเลือกเป็น low หรือ medium ก็พอเพื่อให้ขนาดไฟล์มีขนาดเล็กที่สุด

ควรใช้โปรแกรมช่วยบีบอัดไฟล์
หลักจากออกแบบรูปภาพและย่อไฟล์เรียบร้อยแล้ว ก่อนที่เราจะอัพโหลดรูปภาพขึ้นบนเว็บ เราควรบีบอัดไฟล์ ให้เล็กลงอีก ด้วยโปรแกรม หรือเว็บไซต์บีบอัดรูป เช่น tinypng, JPEGMini, Kraken.io หรือ ImageOptim

4. ขนาด กว้างxยาว ของรูปควรใส่ให้พอดี

หมายความว่า รูปภาพประกอบเว็บบางจุดหากเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นต้องแสดงเต็มหน้า การใส่รูปที่มีขนาดใหญ่เกินไปก็อาจเกินความจำเป็น และทำให้เว็บของเราโหลดช้าอีกด้วย ลองเช็คขนาดรูปภาพ ด้วยการ inspect element ดูครับ เราจะได้เห็นขนาดที่แท้จริงของภาพแต่ละส่วน บนเว็บของเรา

5. ตั้งรูปเพื่อการแชร์ไปยัง social media ให้ถูกต้อง

ทุก ๆ platform บน social media มีธรรมชาติของการใช้งานไม่เหมือนกัน หากเราจะโพสต์หรือจะแชร์สิ่งต่าง ๆ เราควรใช้รูปภาพในขนาดที่เหมาะสม เข้าไปเช็คขนาดรูปภาพของแต่ละ platform ที่ 2018 SOCIAL MEDIA IMAGE SIZES CHEAT SHEET

โดยเฉพาะรูปภาพจากบทความบนเว็บไซต์ของเราที่ต้องการแชร์ไปยัง Facebook เราควรเลือกรูปภาพหน้าปกด้วยขนาด 1200X630 px

คนส่วนใหญ่เล่นเฟสกันเพื่อส่องคนอื่น หรือไม่ก็อวดตนเอง ทุกครั้งที่มีคนกดถูกใจหรือแชร์ต่อบทความต่าง ๆ เพื่อนของเขาก็จะเห็นด้วย ดังนั้นรูปภาพหน้าปกจึงมีความสำคัญมาก ควรเป็นภาพที่ทำผู้คนรู้สึกว่าอวดได้ ดูเท่ ดูฉลาด ดูน่ารัก ดูดีในสายตาคนอื่น ๆ เมื่อเขากดถูกใจ นั้นเอง

บทความของใครที่เมื่อแแชร์ลิงค์แล้วภาพไม่ตรงมั้ง โดนตัดมั้ง หรือไม่ยังไม่สวยมั้ง ลองเขาไปดูวิธีการตั้งค่ารูปภาพบนเว็บไซต์ ที่ แชร์ลิงก์ใน facebook แล้วรูปไม่ขึ้น

6. ส่ง XML image sitemaps

Sitemap คือ ไฟล์เกี่ยบกับการจัดระบบเนื้อหาหน้าเว็บไซต์ของเรา ที่เราสามารถส่งไปเพื่อบอก Google หรือ Search Engine อื่นๆ เพื่อให้โปรแกรมรวบรวมข้อมูลเว็บ เช่น Googlebot สามารถรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้นนั่นเอง หากเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บใหม่ และยังไม่มี backlink คุณภาพมาจากเว็บอื่นๆ การส่ง sitemap ไปให้ google เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง หากเราคาดหวังที่จะเห็นเว็บตัวเองติดหน้าแรก google ในเวลาอันใกล้ ดูวิธีการส่ง site maps ที่บทความนี้ได้ครับ การส่ง sitemap ไปให้ google บนเว็บ WordPress

การทำ SEO ก็เปรียบเหมือนการแต่งเพลง ยังไม่มีเพลงไหนเพราะที่สุด มีแค่เพลงที่เพราะกว่า อันดับบน google rank มีขึ้นมีลง หน้าที่ของเราคือแต่งเพลงหรือเขียนบทความให้ดีหรือให้เพราะกว่าคู่แข่งแค่นั้นเอง

ทั้งข้อมูลและรูปภาพเราจึงต้องจัดเต็ม เก็บทุกรายละเอียด โดยมีเป้าหมายของการเขียนทความคือช่วยแก้ปัญหาผู้คน หรือช่วยเหลือว่าที่ลูกค้าของเรา หากทำได้ตามนี้ เว็บของเรามันจะติดอันดับใน keyword ต่าง ๆ เองครับ และจะเป็นการติดอันดับแบบหล่นยากด้วย

เพิ่มเติม : http://www.ranksocialdigital.co.th