ฟิลเลอร์แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

Standard

ฟิลเลอร์ (Filler) คือ สารเติมเต็มประเภท Hyaluronic Acid หรือ HA สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบสารธรรมชาติ ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของมนุษย์เรา โดยสารกลุ่มนี้จะมีอยู่มากในชั้นผิวหนังและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของคอลลาเจน และมีส่วนช่วยในการเติมเต็มใบหน้า ริ้วรอย รอยหมองคล้ำให้ดูจางลง ช่วยแก้ไขโครงสร้างใต้ผิวหนัง ส่งผลให้ใบหน้าบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เต่งตึงขึ้น ดูมีน้ำมีนวล อีกทั้งยังเป็นการเติมเส้นใยคอลลาเจนที่หายไป ให้ผิวนั้นดูอ่อนเยาว์ ริ้วรอยร่องลึกดูตื้นขึ้น ใบหน้าดูอ่อนกว่าวัย

ฟิลเลอร์สามารถแบ่งออกเป็น  3 ประเภทดังนี้

  1. Temporary filler (แบบชั่วคราว) ฟิลเลอร์แบบชั่วคราว อยู่ได้ประมาณ 6 เดือน นานถึง 2 ปี สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยสูง เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น ฟิลเลอร์กลุ่มไฮยารูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) หรือ HA ที่เรารู้จักกัน
  2. Semi Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร) ฟิลเลอร์แบบกึ่งถาวร สามารถอยู่ได้นานประมาณ 2-5 ปี ยาวนานกว่าแบบแรก มีความปลอดภัยรองลงมาจากแบบแรก เช่น แคลเซียมฟิลเลอร์ ที่มีส่วนผสมของแคลเซียม ไฮดรอกซิลอะพาไทต์ (Hydroxyapatite) สารเติมเต็มกลุ่มกึ่งถาวรนี้มีใช้ในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษาในประเทศไทย หากเกิดผลข้างเคียงหลังการรักษาจะสามารถทำการแก้ไขได้ยากกว่าสารเติมเต็มในกลุ่มที่ย่อยสลายได้
  3. Permanent Filler (แบบถาวร) ฟิลเลอร์แบบถาวร เป็นสารเติมเต็มพวก ซิลิโคน หรือ พาราฟิน หลังฉีดไปแล้วผิวจะไม่สามารถดูดซึมฟิลเลอร์ชนิดนี้ได้ ทำให้คงค้างอยู่ในชั้นผิวของเรา โดยไม่สามารถสลายไปตามธรรมชาติ มีผลข้างเคียงในระยะยาว เช่น ฟิลเลอร์ไหล ฟิลเลอร์ย้อยผิดรูป ไม่แนะนำให้ฉีดสารเติมเต็มชนิดนี้ เพราะหากต้องการนำออก อาจจะไม่สามารถนำออกได้หมด ซึ่งเกิดอันตรายในระยะยาวแก่ร่างกายได้

ฟิลเลอร์ชนิดที่สลาย และไม่สลาย สารที่นำมาใช้ฉีดเพื่อเติมเต็มนั้น โดยรวมเราจะเรียกกันว่า “ ฟิลเลอร์ ” (Filler) ทั้งหมดโดยฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าสู่ผิวหนังนั้น มีหลากหลายประเภท บางประเภทให้ผลลัพธ์ยาวนาน และบางประเภทก็ให้ผลลัพธ์เพียงชั่วคราว ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อก่อนหน้า หากเป็นประเภทฟิลเลอร์ที่ทำจากสารที่ร่างกายสามารถค่อย ๆ สลายออกไปได้ หรือ ฟิลเลอร์ธรรมชาติที่มาจากร่างกายของเราเอง ซึ่งแต่ละชนิดนั้น มีข้อดีและข้อเสียต่างกันออกไป