ใช้ รถเครน อย่างไรให้ปลอดภัยมาดุกันค่ะ

Standard

รถเครน หรือที่คนไทยเรียกว่า ปั้นจั่น เป็นเครื่องจักรเฉพาะทางที่ใช้สำหรับช่วยยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก และเนื่องจากมีขนาดใหญ่ หากใช้งานอย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกลประเภทนี้จึงควรศึกษาคู่มือการใช้เครนให้ละเอียดถี่ถ้วน มาดูกันว่าคู่มือการใช้เครนสำคัญๆ ที่ควรรู้มีอะไรบ้าง

ประเภทของรถเครน

เรามักจะพบเห็นการใช้ รถเครน ในหลายๆ ประเภทธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม งานขนส่ง และงานเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ โดยเราสามารถแบ่งเครนออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่
– เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Crane) คือ เครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
– เครนชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Crane) คือ เครนที่มีอุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน

หลักการทำงานของ รถเครน

รถเครน เกิดจากการผสมผสานเครื่องกลอย่างง่ายเข้าด้วยกันเพื่อใช้ยกหรือเคลื่อนย้ายวัตุที่มีน้ำหนักมาก โดยมีหลักการทำงานคือเครนจะยกวัตถุขึ้น-ลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านั้นไปตามแนวราบ

เครื่องกลที่ถูกนำมาใช้ได้แก่ ‘คาน’ เมื่อคานรับน้ำหนักอยู่ในจุดที่สมดุลย์ จะทำให้เครนสามารถยกของที่มีน้ำหนักมากโดยใช้แรงเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนั้น เครนยังใช้ ‘รอก’ อุปกรณ์ ช่วยเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้น-ลงจากที่สูงด้วย สำหรับเครนหอสูงหรือ Tower Crane จะใช้รอกมากกว่า 1 ตัว เพื่อช่วยเพิ่มแรงในการยกวัตถุที่มีน้ำหนักมากได้ง่ายขึ้น

ไม่น่าเชื่อว่าเพียงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับเครื่องกลอย่างง่ายอย่างเครนและรอกนี้ จะทำให้เครนสามารถยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของหนักๆ ได้อย่างสบายๆ สำหรับเครนขนาดใหญ่ สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากถึงราว 18,000 กิโลกรัม ช่วยทุ่นแรงและเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานให้กับมนุษย์ได้อย่างมหาศาล

ข้อแนะนำระหว่างใช้ รถเครน

หลังจากที่ตรวจสอบเครน อุปกรณ์ต่างๆ และพื้นที่ปฏิบัติงานเรียบร้อยแล้ว ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ใช้สัญญาณมือในการสั่งการหรือสื่อสาร
– ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่อาจมีเสียงรบกวนจากการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ ผู้เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องศึกษาสัญญาณมือเครนสากลที่สำคัญๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการสื่อสารที่ผิดพลาด
2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
– หลีกเลี่ยงการควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ระเครนด้วยตัวเอง ระหว่างปฏิบัติงาน ให้หมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยของตัวเองอยู่ในสภาพดี และหมั่นตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้งผู้ปฏิบัติงาน สภาพอากาศ และอุปกรณ์เคลื่อนย้ายอื่นๆ หากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ให้หยุดปฏิบัติงานและปรับเปลี่ยนแผน

ข้อแนะนำหลังใช้ รถเครน

หลังจากปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว ให้ผู้เกี่ยวข้องนำ รถเครน ขาค้ำยัน เครื่องกว้าน และอุปกรณ์อื่นๆ เก็บเข้าจุดพักให้เรียบร้อย จากนั้นให้บันทึกรายงานการปฏิบัติงานรวมถึงข้อกังวลใจต่างๆ (ถ้ามี) ให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างหรืองานนั้นๆ ทราบ และหากพบว่าอุปกรณ์ต่างๆ มีปัญหา ให้แจ้งบริษัทผู้ผลิตเพื่อซ่อมแซมและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในครั้งต่อๆ ไป

เครนยกของ เป็นเครื่องจักรที่มีประโยชน์มหาศาล แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายที่ไม่อาจประเมินค่าเป็นตัวเลขได้เช่นกัน แต่อุบัติเหตุนั้นสามารถป้องกันได้ เพียงผู้ปฏิบัติงานศึกษาวิธีการใช้เครนอย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด